วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

น้ำตกตาดโตน จ.ชัยภูมิ


วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ทุ่งดอกกระเจียว จังหวัดชัยภูมิ

AIRBORNE - คำตอบสุดท้าย [MV]

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การบำรุงสมอง



มาเพิ่มอาหารให้ สมอง กันเถอะ

1.ธัญพืช
สาวขี้ลืมอย่างนี้ ต้องหันมากินอาหารที่มีธัญพืชสูงแล้วค่ะ เช่น ซีเรียลธัญพืช รำข้าว หรือข้าว-ซ้อมมือเพราะจากผลการศึกษาพบ ว่า ผู้หญิงที่ได้รับกรดโฟลิกมากๆ วิตามินบี 12 และวิตามินบี 6 จะมีความจำดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้เลย







2.บลูเบอร์รี่
จากการวิจัยของ Tufts University สหรัฐอเมริกา ได้แนะนำว่าสารสกัดจากบลูเบอร์รี่สามารถช่วยป้องกันอาการความจำสั้นได้ค่ะ





3.ไขมันจากปลา
กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างกรดโอเมก้า 3 ที่พบในปลาที่มีไขมัน หรือไขมันจากวอลนัทและเมล็ดจากต้นแฟล็กซ์ จะมี DHA (Decosapentaenoic Acid) สูง ซึ่งเป็นกรดที่สำคัญต่อเซลล์สมองของเรา เพราะถ้าหากระดับของ DHA ในร่างกายต่ำ จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์และความจำเสื่อมได้ นอกจากนี้ปลาก็ยังมีไอโอดีน ช่วยให้ความจำดีขึ้นด้วยค่ะ


4.มะเขือเทศ
มีหลักฐานยืนยันว่า ไลโคพีนซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่พบในมะเขือเทศ สามารถช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายของอนุมูลอิสระ ที่พบในอาการของโรควิกลจริตและโรคอัลไซเมอร์


5.ซีเรียล
คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมี Homocysteine อยู่ในปริมาณที่สูง กรดโฟลิกและวิตามินบี 12 จะสามารถช่วยขัดขวางการสะสมของ Homocysteine ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ และซีเรียลเองก็เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินบี 12 แถมยังมีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอีกด้วย ช่วยให้พลังงานนานและทำให้ความจำ Alert ตลอดทั้งวัน


6.Black Currant
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าวิตามินซีจะช่วยเสริมสร้างความจำของเราให้ว่องไวขึ้น และแหล่งที่มีวิตามินซีอยู่เยอะก็คือ ต้น Black Currant นี่แหละค่ะ


7.เมล็ดฟักทอง
สังกะสีมีความสำคัญในการช่วยเพิ่มความจำและทักษะในการคิด ดังนั้น หากคุณกินเมล็ดฟักทองวันละ 1 กำมือ จะทำให้ได้รับสังกะสีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย


8.บร็อกโคลี เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินเค ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการเรียนรู้และช่วยเพิ่มความสามารถในการจำ


9.ถั่ว จากผลการวิจัยที่ลงใน American Journal of Epidemiology ได้แนะนำเอาไว้ว่า วิตามินอีช่วยในการป้องกันความจำเสื่อม และถั่วเองก็เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินอี นอกจากนี้วิตามินอียังพบได้ในผักใบเขียว เมล็ดพืช ไข่ ข้าวซ้อมมือ และธัญพืชค่ะ


สับปะรดมีประโยชน์อย่างไร






ประโยชน์ของสับปะรด
สับปะรด เป็นผลไม้อมหวานอมเปรี้ยว ที่สามารถนำไปทำอาหารทั้งคาว และหวานได้อร่อยหลายชนิด และให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ร่างกายมากมายโดยที่คุณอาจไม่รู้

หากเรากินสับปะรด หลังอาหาร เราจะรู้สึกเบาสบายท้องและไม่อึดอัด เพราะสับปะรดมีความสามารถในการช่วยย่อย โดยเฉพาะในสารอาหารโปรตีน เราจึงเห็นคนส่วนใหญ่ใช้สับปะรดในการหมักเนื้อสัตว์ต่างๆ ให้นุ่มขึ้น รวมถึงสับปะรดอุดมไปด้วยวิตามินซีสูงจึงช่วยเสริมสุขภาพ และภูมิต้านทานโรคได้ดีขึ้น

กินสับปะรดบ่อยๆ ทำให้สุขภาพดี ไม่ค่อยเป็นหวัด และในสับปะรดยังมีโพแทสเซียมสูงที่ช่วยป้องกันการเป็นตะคริวและลดความดันได้
นอกจากนี้สับปะรดยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เป็นอย่างดี ส่วนปริมาณที่เหมาะสมของสับปะรด ในการบริโภคก็คือ 100 กรัมต่อวัน และควรกินสับปะรดสดๆ โดยไม่ผ่านการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนเพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามินต่างๆ ไป เพื่อสุขภาพ ที่ดีของคุณ

เคล็ดลับหุ่นดี


7 เคล็ดลับ กินอย่างไรไม่ให้อ้วน
1.ทานอาหารเช้าเป็นประจำ เพราะมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดและควรเป็นมื้อที่มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะนอกจากจะช่วยเติมพลังให้ร่างกายและสมองแล้ว ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดช่วยให้การเผาผลาญพลังงานดีขึ้น


2.เลือกอาหารจากธรรมชาติไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์(มอลต์) ถั่ว ข้าวสาลี (โฮลวีต) เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งรวมของแร่ธาตุ วิตามิน โปรตีนที่ปราศจากคอเลสเตอรอลและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีสารแอนติออกซิแดนท์ ใยอาหารและปัจจัยอื่นช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตได้ หรืออาจเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลจากมอลต์ เป็นต้น


3.เพิ่มผักผลไม้ในมื้ออาหารและทานเป็นประจำ เพื่อเพิ่มวิตามิน เกลือแร่และสารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยนำคอเลสเตอรอลและสารก่อมะเร็งบางชนิดออกจากร่างกาย ทำให้ลดการสะสมของสารก่อมะเร็งบางชนิด และมีกากใยช่วยในการขับถ่าย ช่วยให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4.ลดขนมขบเคี้ยวและขนมอบ ที่มีแต่ไขมัน เกลือ น้ำตาลและสารปรุงแต่งอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากอยากทานขนมอาจหันมาทานขนมที่มีส่วนผสมของธัญพืชเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับขนมที่มีประโยชน์น้อย อย่างไรก็ตาม ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น

5.กินปลา ไข่และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารเหล่านี้เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ช่วยเสริมสร้างร่างกายในผู้เยาว์และซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสื่อมสลายในผู้สูงวัย เป็นส่วนประกอบของสารสร้างภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคอ้วน ไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นต้น


6.ดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีน้ำตาลสูง การดื่มน้ำผักผลไม้ก็เป็นทางเลือกที่ดีเพราะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุกว่า 50 ชนิด เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัน


7.ดื่มน้ำและนมให้เป็นนิสัย ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยระบบขับถ่ายและมีน้ำหล่อเลี้ยงในเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1-2 แก้ว ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เพราะนมอุดมไปด้วยคุณค่าโภชนาการสูง ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็กๆ ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง โดยชนิดของนม ขึ้นอยู่กับวัย หากเป็นเด็กทีกำลังเจริญเติบโตควรเป็นนมจืดธรรมดา แต่ในผู้สูงอายุควรเป็นนมพร่องมันเนยเพื่อมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอล

สังกะสีดีอย่างไร



แร่ธาตุที่มีประโยชน์


สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Zn ประมาณร้อยละ 90 ของสังกะสี ในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยส่วนที่อยู่ในเม็ดเลือดนั้น ร้อยละ 80 อยู่ในเม็ดเลือดแดง และร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเลือด ส่วนใหญ่ของ สังกะสี ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ ซึ่งเป็นผลรวมของ สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่าย สังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับ กรดอะมิโน ได้อีกด้วย ซึ่งในคนปกติจะขับถ่าย สังกะสี ออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม





อาหารที่ให้แร่ธาตูสังกะสี





ประโยชน์ของสังกะสี

สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและ วิตามิน อื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก และโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจกล่าวได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา โดยอาจสรุปขบวนการที่ สังกะสี มีส่วนร่วมในการทำงานในร่างกายมนุษย์ได้ดังต่อไปนี้

1. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส (Alcohol Dehydrogenase) ซึ่งเอ็นไซม์นี้มีหน้าที่ในการกำจัดแอลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นสารพิษในตับ (Liver)

2. สังกะสี ร่วมทำงานกับ เอ็นไซม์ แลคเตตและมาเลตดีไฮโดรจีเนส (Latate and Malate Dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ร่างกายใช้ในขบวนการสร้างกำลังงาน

3. สังกะสี มีส่วนร่วมทำงานกับเอ็นไซม์ อัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส (Alkaline Phosphatase) ซึ่งจำเป็นในขบวนการสร้างกระดูกและฟัน

4. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ซูเปอร์อ๊อกไซด์ ดิสมิวเทส (Superoxide Dismutase; SOD) ซึ่งเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Potent Anti-oxidants) ที่มีอยู่ในร่างกาย

5. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ คาร์บอร์นิคแอนไฮเดรส (Carbonic Anhydrase) ซึ่งพบว่าเอ็นไซม์นี้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานอย่างสมดุลของระบบประสาทสมอง

6. สังกะสี จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนและสร้าง คอลลาเจน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของเด็ก

7. สังกะสี ช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามิน เอ (Vitamin A) ไว้ได้ดีขึ้น และช่วยให้เซลล์สามารถนำเอาวิตามินเอไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งช่วยทำให้เซลล์ผิวพรรณที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ๆ มีสุขภาพดี และพบว่ายังเกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลของปริมาณไขมันในผิวหนัง และควบคุมปัญหาการเกิดสิวจากการอุดตันของไขมันได้ด้วย

8. สังกะสี มีส่วนสำคัญในขบวนการสร้างกรดนิวคลีอิค (Nucleic acid) ทั้งดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งพบว่าในระยะที่ร่างกายต้องการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ไม่ว่าหลังผ่าตัด, เป็นแผลต่างๆ ยิ่งจำเป็นต้องมีขบวนการนี้มากขึ้นเสมอ

9. สังกะสี ยังช่วยในการปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด ทีลิมโฟไซต์ (T-lymphocyte) ให้ทำงานป้องกันเชื้อโรคแปลกปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

10. สังกะสี มีความสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และควบคุมการทำงานของอวัยวะรับสัมผัส (Taste Sensation) ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ชุดทดสอบสารเคมี

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเต้นแอโรบิค

การเต้นแอโรบิค









การเต้นแอโรบิค(Aerobic Exercise) คือการออกกำลังบริหารร่างกายเพิ่มการเผาผลาญด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน โดยประยุกต์ท่ากายบริหารให้เข้ากับจังหวะดนตรีต่างๆการเต้นแอโรบิคเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะกับทุกคนและการเต้น แอโรบิคสำคัญสำหรับนักเพาะกายเป็นอย่างมาก การเต้นแอโรบิค นอกจากจะไม่สลายกล้ามเนื้อตามที่เข้าใจแล้ว การเต้นแอโรบิค กลับทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นอีกด้วย การเต้นแอโรบิค แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้


1.อบอุ่นร่างกาย (Warm Up)

2.แอโรบิค(Aerobic)

3.ผ่อนคลาย (Cool Down)

ประโยชน์ของแอโรบิค

1. ช่วยสลายไขมัน ไขมันสะสมที่อยู่ในร่างกาย ถูกนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน และยังช่วยทำให้มีการสะสมสารต้นกำเนิดพลังงานและสารที่เกี่ยวข้อง คือไกลโคลเจน เกลือแร่ ฯลฯ อีกด้วย

2. ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สามารถเกร็งและคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอวัยวะของร่างกายทำงานที่สมดุลกัน และทำให้รูปร่างสวย เพรียวกระชับสมส่วนขึ้น

3. ระบบการไหลเวียนของโลหิต การเต้นแอโรบิคช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น หลอดเลือดต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถช่วยเพิ่มประมาณและคุณภาพของเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังจะช่วยทำให้ชีพจรและความดันโลหิตกลับเข้าสู่สภาพปกติได้อีกด้วย

4. ระบบการหายใจ ช่วยให้ ปอดและถุงลมมีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้น ระบบทางเดินหายใจ และ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น

5. ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยเพิ่มอัตราความเร็วของขบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานของร่างกาย ลดไขมันส่วนเกินช่วยทำลายเซลล์เสื่อมสภาพต่าง ๆ เพื่อเร่งให้ร่างกายสร้างเซลใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ และยังช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น นอนหลับสบาย เมื่อตื่นขึ้นจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง

6. ระบบควบคุมประสาททำงานดีขึ้น ช่วยทำให้ร่างกายปรับสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติและระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนต่างๆ ออกมาอย่างเป็นปกติ

7. กล้ามเนื้อระบบประสาททำงานดีขึ้น ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทสำหรับผู้ที่เคร่งเครียดกับการทำงานหนัก


8. เสริมบุคลิกที่ดี ทำให้ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น ร่างกายโดยรวมมีความอ่อนตัว และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น ทำให้อารมณ์เบิกบานและจิตใจแจ่มใส

9. อารมณ์ดีคลายความเครียด ขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟีน ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดความสุข การเต้นแอโรบิค ไม่ได้มีการแข่งขัน จึงไม่มีความเครียด ซึ่งต่างกับการออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน ร่างกายจะหลั่งสารคนละตัว มีชื่อว่า อดีนาลีน ซึ่งตัวนี้ จะก่อให้เกิดความเครียด ผลของการออกกำลังกายจะต่างกัน รูปร่างหน้าตาจะสดใสต่างกัน